CHITOFRESH ไคโตซาน (chitosan) คือ สารธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง
200.63฿ – 3,210.00฿
ไฟล์เอกสาร
INCI NAME
Chitosan
แหล่งกำเนิดสินค้า
ญี่ปุ่น
ยี่ห้อ
Maruzen Phamaceuticals
เกรดสินค้า
Cosmetic Grade / Food Grade
ข้อมูลทั่วไป
➡️ ไคโตซาน (chitosan) คือ สารธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีในสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง เช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปู ซึ่งเมื่อนำมาสกัดแยกเอาแคลเซียม โปรตีน และแร่ธาตุที่ไม่ต้องการออกไป ก็จะได้สารสำคัญที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายเซลลูโลส เรียกว่า “ไคติน” (chi-tin) และเมื่อนำไคตินผ่านกระบวนการทางเคมีอีกครั้ง ก็จะได้สารที่เรียกว่า “ไคโตซาน” ไคโตซาน (chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่รู้จักกันมานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว แต่ไม่ได้มีการศึกษาเพื่อนำมาใช้ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีการรวมตัวกันของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสารตัวนี้ ซึ่งคุณสมบัติพื้นฐานของไคโตซาน ที่นักวิทยาศาสตร์ต่างศึกษาออกมาได้ผลตรงกัน คือ ไคโตซานเป็นสารที่มีประจุบวก จึงสามารถดักจับไขมันต่างๆที่เป็นประจุลบได้ โดยมีการทดลองใช้สารไคโตซานครั้งแรกในการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากนั้นไคโตซานก็ได้เข้าไปมีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมหลายสาขา
➡️ สารไคโตซาน นอกจากจะมีคุณสมบัติโดดเด่นทางเคมี คือ มีประจุบวกช่วยในการดักจับไขมันต่างๆแล้ว ไคโตซานยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียด้วย ไคโตซานมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น เป็นเส้นใย เป็นแผ่นฟิล์ม เป็นผงฝุ่น เป็นเจล หรือเป็นเสมือนฟองน้ำ ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงใช้กับผลิตภัณฑ์นานาชนิดที่จะมีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคน
ตัวอย่างเช่น
⭐ ในแวดวงความสวยงามหรือวงการเครื่องสำอาง จะใช้ไคโตซานเป็นสารเติมแต่งและเป็นสารพื้นฐานของมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ โลชั่น แชมพู ยาทาเล็บ ครีมกันแดด ลิปสติก ครีมรองพื้น อาแชร์โดว์ ครีมนวดผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน ว่ากันว่าในอนาคตสารไคโตซานจะเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางเกือบทุกชนิดเลยทีเดียว
⭐ ในทางการแพทย์ สารไคโตซาน มีคุณสมบัติในการช่วยห้ามเลือด ช่วยดูดซับน้ำเหลือง จึงทำให้บาดแผลต่างๆหายเร็วขึ้น ใช้ทำเส้นไหมสำหรับเย็บแผลผ่าตัด ช่วยลดปัญหาการแพ้ การระคายเคือง ที่อาจจะเกิดจากการใช้เส้นไหมที่ทำจากสารสังเคราะห์ได้เป็นอย่างดี หรือใช้ทำผิวหนังเทียมเพื่อรักษาคนไข้แผลผิวหนังไหม้รุนแรง รักษาเหงือกและฟัน
⭐ ในด้านการเกษตร จะนำสารไคโตซานมาทำปุ๋ยชีวภาพ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้และพืชผักต่างๆ เพราะไคโตซานมีองค์ประกอบของไนโตรเจนอยู่ด้วย หรือใช้หุ้มเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น ในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ จะใช้ไคโตซานผสมในเส้นใยเพื่อเสริมความแข็งแรงและ ความเหนียวให้แก่เส้นใย และเยื่อกระดาษ ในด้านสิ่งแวดล้อม จะใช้ไคโตซานดักจับคราบไขมัน หรือโลหะหนักบางส่วนจากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้น้ำเสียสะอาดขึ้น
ข้อแนะนำในการนำไปใช้
ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ทั่วไป
ลักษณะผลิตภัณฑ์
ผงสีขาวออกเหลือง
การละลาย
สามารถละลายได้ในกรด (acetic acid)
น้ำหนัก | ไม่ระบุ |
---|---|
น้ำหนัก | 50 g, 100 g, 500 g, 1 kg |